พามาดูขั้นตอนการตรวจสอบเครนที่ใช้เป็นมาตรฐานเดียวกัน

ตรวจสอบเครน

ประกาศจากกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เรื่องหลักเกณฑ์และวิธีการทดสอบ ส่วนประกอบและอุปกรณ์ของปั้นจั่นในปี พ.ศ. 2554 เพื่อให้ใช้เป็นแนวทางการดำเนินงานทดสอบ โดยให้วิศวกรวิชาชีพหรือวิศวกรเครื่องกลเป็นผู้ดำเนินการและต้องมีการออกเอกสารรายงานการทดสอบ ส่วนประกอบและอุปกรณ์ของปั้นจั่น นายจ้างต้องจัดให้มีเอกสารตามที่กฎหมายได้กำหนด วันนี้เราจะพาทุกคนมาดูขั้นตอนการตรวจสอบเครนที่ใช้เป็นมาตรฐานเดียวกัน ซึ่งในปัจจุบันมีผู้ให้บริการรับตรวจสอบเครนหรือตรวจสอบปั้นจั่นมากมาย ขั้นตอนในการตรวจสอบเครน ทำการตรวจสอบระบบต้นกำลัง ตรวจสอบระบบหล่อลื่นเครน ระบบระบายความร้อน ระบบเชื้อเพลิงมอเตอร์และระบบควบคุมไฟฟ้า ระบบต่อกำลังและระบบเบรคเครน ตรวจสอบสภาพโครงสร้างหลักของเคนหรือปั้นจั่น ตรวจสอบรอยเชื่อมสภาพน็อตและการคลายตัว ตรวจสอบการเคลื่อนที่ของปั้นจั่นตรวจสอบชุด Limit switches การทำงานของชุดควบคุมพิกัดในการยก ตรวจสอบสัญญาณเสียงและไฟแจ้งเตือนปั้นจั่นหรือเครน ความสว่างของไฟแจ้งเตือนและระบบเสียงแจ้งเตือนเพื่อให้ได้ยินชัดเจน ตรวจสอบม้วนรอก สลิงเครน ตรวจสอบเส้นผ่านศูนย์กลางสลิง โซ่ ตรวจสอบการชำรุดและการสึกหรอการเสื่อมสภาพต่างๆ ทดสอบพิกัดการยกโดยใช้น้ำหนักจริงเพื่อทดสอบการยกที่ปลอดภัย การตรวจสอบเครนโดยการทดสอบพิกัดการยก น้ำหนักที่ใช้ในการทดสอบเครนนั้น วิศวกรต้องทดสอบการรับน้ำหนักของเครนหรือปั้นจั่นตามอายุการใช้งาน ปั้นจั่นใหม่ สำหรับปั้นจั่นใหม่ขนาดไม่เกิน 20 ตันให้ทำการทดสอบการรับน้ำหนักที่ 1 เท่า แต่ต้องไม่เกิน 1.5 เท่า หากมีขนาดมากกว่า 20 ตันขึ้นไป แต่ไม่เกิน 50 ตัน ต้องทดสอบการรับน้ำหนักเพิ่มขึ้นอีก 5 ตันจากพิกัดกันยกปลอดภัย ปั้นจั่นใช้งานแล้ว การทดสอบปั้นจั่นใช้งานแล้วให้ทดสอบการรับน้ำหนักที่ 1.25 […]